WELCOME

WELCOME

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วันที่ 30 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 30 เมษายน  2558

.


วันนี้เป็นวันสุดท้ายของภาคเรียนที่ 2

โดยอาจารย์นัดสอบร้องเพลง 5 คะแนน

ภาพบรรยากาศ





วันที่ 23 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 23 เมษายน  2558



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้น้ำคำถามจิตวิทยามาให้นักศึกษาได้ทายก่อนเข้าเนื้อหาการเรียนการสอนในวันนี้ 

ความรู้ในวันนี้


วันนี้เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องกและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
- เด็กสามารถทำอะไรได้  เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว   - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
         - น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
 - น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
 - น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
ใคร  อรุณ
อะไร  กระโดดขาเดียวได้ 
เมื่อไหร่ ที่ไหน  กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที
ใคร  ธนภรณ์
อะไร  นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย 
เมื่อไหร่ ที่ไหน  ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน  ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
*ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
การจัดทำ IEP
1.) การรวบรวมข้อมูล
2.) การจัดทำแผน
3.) การใช้แผน
4.) การประเมิน

- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

ภาพประกอบ







การประเมิน

ตนเอง  วันนี้ได้ความรู้ในการเริ่มต้นเขียนแผน IEP และมีความรู้สึกชอบในการร่วมกิจกรรมตอบคำถามวิทยาที่อาจารย์นำมาเล่นในชั้นเรียน

เพื่อน จากที่มองเห็นเพื่อนตั้งใจเรียนเป็นส่วนน้อย เพราะติดคุย แต่ก็มีบางส่วนที่ตั้งใจเรียน

อาจารย์  วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอนและมอบความรู้ให้นักศึกษาเป็นอย่างมากในเรื่องแผน IEP



วันที่ 16 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 16 เมษายน  2558



หยุด

เนื่องจากอาจารย์หยุดชดเชยให้นักศึกษาในวันสงกรานต์










ขอให้อาจารย์และเพื่อน ๆ พักผ่อนในวันหยุดให้เพียงพอพร้อมเรียนต่อสัปดาห์หน้านะค่ะ







วันที่ 9 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 9 เมษายน  2558



ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
เด็กพิเศษเรียนรู้ได้ดีโดยการเลียนแบบเพื่อน พ่อแม่ และครู
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก


ภาพประกอบ






การประเมิน

ตนเอง  วันนี้ได้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ และตั้งใจเรียนบ้างก็คุย

เพื่อน ส่วนมากเพื่อนจะคุยกันจุบจิบๆ มากกว่าตั้งใจฟังอาจารย์

อาจารย์  วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอนและมอบความรู้ให้นักศึกษาและบางครั้งอาจารย์ต้องออกมายืนเฝ้านักศึกษาที่คุยกันด้วย




วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

วันที่ 2 เมษายน 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 2 เมษายน  2558





วันนี้เป็นวันครบรอบ 60 พรรษา ขอพระองค์ทรงพระเจริญ





อาจารย์จึงทำการหยุดสอนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม



การประเมิน

ตนเอง  ภูมิใจที่มีพระองค์เป็นตนแบบในการใช้ชีวิตประจำวัน

เพื่อน  ภูมิใจ

ผู้สอน  ภูมิใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม




วันที่ 26 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 26 มีนาคม  2558



*** วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน ข้อเขียน ทั้งหมด 5 ข้อ เต็ม10คะแนน ***
ข้อสอบเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียนกันมาในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ขอให้เพื่อนๆตั้งใจสอบนะค่ะ





การประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจทำข้อสอบให้เต็มที่

เพื่อน  ตั้งใจทำข้อสอบ

ผู้สอน  ติดตามสังเกตการทำข้อสอบของนักศึกษา



วันที่ 19 มีนาคม 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10



วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารยืผู้สอน ตฤณ แจ่มถิน

วันที่ 19 มีนาคม  2558




ความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กพิเศษ ได้ทำกิจกรรมผ่อนคลายในห้องเรียน และกิจกรรมที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้นักศึกษาได้เล่น ผ่อนคลายสมอง กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรมระบายสีในกระดาษให้เ็นวงกลมแล้วตัดให้เป็นรูปวงกลมตามที่เราได้ระบายแล้วนำไปติดบนกระดาน

ความรู้ในวันนี้

เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง 
 - เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
 - การกินอยู่       

 - การเข้าห้องน้ำ
 - การแต่งตัว     

 - กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
 - เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง     
 - อยากทำงานตามความสามารถ
 - เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
 - การได้ทำด้วยตนเอง   
 - เชื่อมั่นในตนเอง  
 - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
 - ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
 - ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
 - ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
 - “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
 - เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
 - หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
 - เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
 - มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่น (อายุ 3-4 ปี)

  การแต่งตัว
     - ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
     - ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
     - เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
  การกินอาหาร
     - ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
     - รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
     - กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
  การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ
     - ชอบอาบน้ำเอง
     - เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
     - อาบไม่สะอาด
     - ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
  ทั่วไป
     - บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
     - ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
     - แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้

สรุป 
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


ภาพประกอบ


ภาพต่อไปนี้เป็นกิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษ อาจารณ์ได้สมมุติขึ้นมาให้นักศึกษาได้ลองมือทำ




ต้นรัก










การประเมิน

ตนเอง  ภูมิใจในผลงานของตนเองที่ได้ลงมือทำ และมีความสุขในการทำกิจกรรมวันนี้มากค่ะ

เพื่อน  ได้ประสบการณ์ในวันนี้มากในการร่วมมือกับเพื่อนๆในห้อง

ผู้สอน  อาจารย์แนะนำความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆให้นักศึกษาฟัง และมีอารมณ์สนุกสนามกับนักศึกษา